ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

อาจารย์วิศวฯ โยธา ได้รับพระราชทานรางวัล The King of Thailand’s Vetiver Awards 2015 Certificate of Excellence

อาจารย์วิศวฯ โยธา ได้รับพระราชทานรางวัล The King of Thailand’s Vetiver Awards 2015 Certificate of Excellence

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 6 The Sixth International Conference on Vetiver จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2558 ในการนี้ ได้พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด The King of Thailand Vetiver Awards 2015 จำนวน 15 ราย โดยมีคนไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัล และชาวต่างชาติ 3 รางวัล จากประเทศคองโก บังกลาเทศ จีน และรางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 9 รางวัล ซึ่งมี คนไทยได้รับจำนวน 5 รางวัล และต่างประเทศ 4 รางวัล ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินิติ โชติสังกาศ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้รับรางวัลพระราชทาน The King of Thailand’s Vetiver Awards 2015 Certificate of Excellence ด้านงานวิจัยดีเด่น (Outstanding Research) ประเภทนอกภาคเกษตรกรรม (Non-Agriculture Application) จากผลงานวิจัย เรื่อง Engineering Characterization of Vetiver System for shallow slope stabilization

ผลงานวิจัยดังกล่วเกี่ยวข้องกับการใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะและดินถล่มระดับตื้น แต่การศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับสมบัติทางวิศวกรรมศาสตร์ของระบบหญ้าแฝก (Vetiver system) โดยเฉพาะด้านกำลังเฉือน การไหลซึมของน้ำสู่ดิน และกำลังที่เปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นนั้นยังมีข้อจำกัด ซึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทีมผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิค Minirhizotron ในการสังเกตปริมาณรากในสนาม และเชื่อมโยงกับการทดลองสมบัติด้านกลศาสตร์ และการไหลซึมของดินที่มีหญ้าแฝกในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งใช้การจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธี Finite Element เพื่อจำลองปฏิสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนที่ตกสู่ลาด และระดับความปลอดภัยของลาด ช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพของหญ้าแฝกในเชิงปริมาณ โดยหญ้าแฝกมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มเสถียรภาพของลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความชันที่ประมาณ 30 องศา ซึ่งเป็นระดับความชันที่มักพบดินถล่มในลาดธรรมชาติ และทราบข้อจำกัดบางประการอาจนำมาสู่การเกิดโพรงขึ้นในลาดดิน และทำให้ลาดชันที่ความสูงกว่า 60 องศา มีความปลอดภัยลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้ในการประเมินคุณภาพของการใช้หญ้าแฝกในทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันดินถล่มระดับตื้นได้อย่างยั่งยืน

สำหรับบทความวิจัยนี้ เป็นการสรุปงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกที่อยู่ระหว่างดำเนินการโดยนายธีรภัทร์ ศิริรัตนฉัตร นายฉัตรชัย รัตรอารีกุล และนายไกรโรจน์ มหรรณพกุล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน และกลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด เป็นงานวิจัยทั้งในห้องปฏิบัติการและการใช้แบบจำลองร่วมกับการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยเน้นการศึกษาร่วมกับชุมชนที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏ์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเคยประสบภัยพิบัติดินถล่มในอดีต

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่