ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
[คณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปี]อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษ

วิศวฯ มก.ร่วมพัฒนาต่อยอด เรือกู้ภัยสะเทินน้ำ สะเทินบก ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พัฒนาต่อยอดเรือสะเทินน้ำสะเทินบก ในโครงการวิจัยและพัฒนาเรือกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบก ให้มีความสามารถในการใช้งานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ดียิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในการเป็นเรือ 70% และเป็นรถ 30% ในพาหนะที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว วิ่งได้ทั้งทางบกและในน้ำ ขับขี่ง่ายเหมือนรถยนต์ น้ำหนักเบา ทดแทนการขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยรถยนต์ที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่น้ำท่วมระดับสูงได้ และแก้ปัญหาความไม่สะดวกจากการขนส่งทางเรือที่ไม่สามารถเกยตื้นในพื้นที่น้ำท่วมระดับต่ำหรือข้ามถนนสะพานได้

คณะทำงาน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก และทีมผู้วิจัยและประดิษฐ์เรือสะเทินน้ำสะเทินบกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) คือ อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  นายธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ นักวิจัย และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

อาจารย์ปัญญา กล่าวว่า”เมื่อปี พ.ศ.2554 พื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประสบปัญหาอุทกภัย ทางทีมนักวิจัยและประดิษฐ์เรือสะเทินน้ำสะเทินบก จึงคิดดัดแปลงชุดเรือหางสั้นสะเทินน้ำสะเทินบก KU –Amphibian ตัวต้นแบบที่มีรูปแบบเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น โดยสามารถขับเคลื่อนทั้งทางบกและในน้ำได้ เพื่อปฏิบัติภารกิจขนส่งเครื่องอุปโภค บริโภคแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในบริเวณมหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบ และเนื่องจากเป็นเรือที่สร้างขึ้นอย่างฉุกเฉินเพื่อรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยในขณะนั้น จึงเกิดความไม่สมบูรณ์แบบในหลายจุด เช่น เรือมีขาดเล็กเกินไป ความเร็วที่ใช้วิ่งบนบกยังต่ำเกินไป และมีเสียงดังขณะวิ่ง ตำแหน่งที่นั่งขับไม่มีความสะดวก ตลอดจนเรือมีน้ำหนักมาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงคิดพัฒนาต่อยอดให้เรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยได้รับความร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พัฒนาเป็นเรือกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบกขึ้น”

คุณลักษณะของเรือกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบก น้ำหนักตัวเรือประมาณ 350-450 กิโลกรัม สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 450-550 กิโลกรัม หรือผู้โดยสารประมาณ 7-8 คน ความเร็วสูงสุดบนบกและในน้ำ คือ 50 และ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีความสิ้นเปลืองการใช้พลังงานเมื่อวิ่งบนบกได้ 18 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร และวิ่งในน้ำได้ 6 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร ขนาดเครื่องยนต์ เครื่องจักรยานยนต์เบนซิน 250 cc.  4 จังหวะ 14 แรงม้า มีล้อรถ 3 ล้อขนาดยาง 22 นิ้ว ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง 1 ล้อ และมีระบบเกียร์ที่สามารถส่งกำลังเลือกไปที่ล้อหรือไปที่หางของเรือได้ ส่วน 2 ล้อหน้าสามารถพับเก็บล้อได้เพื่อจะได้ไม่ต้านทานน้ำเวลาขับเคลื่อนในน้ำลึกและสามารถต้านทานกระแสน้ำหรือคลื่นน้ำขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการพลิกคว่ำลำเรือได้โดยการกาง 2 ล้อหน้าลงในน้ำเพื่อถ่วงลำเรือไม่ให้พลิกคว่ำได้ ส่วนการใช้เชื้อเพลิงจะเป็นน้ำมันเบนซินโดยถังน้ำมันสามารถจุน้ำมันได้ 20 ลิตร และมีอุปกรณ์เสริม คือ หลังคาผ้าใบและรอกไฟฟ้าช่วยดึงหน้าลำเรือ

นายธนัตถ์ กล่าวเสริมว่า “ในการพัฒนาเรือกู้ภัยฯ ลำนี้ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยจุดเด่นของเรือกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบกที่พัฒนาขึ้น คือ สามารถเคลื่อนที่ไปได้ในทุกสภาวะตั้งแต่ถนนแห้งไปจนถึงแม่น้ำลึก มีสมรรถนะสูงทั้งการวิ่งบนบกและในน้ำ ด้วยการออกแบบตามหลักวิศวกรรม รูปแบบเรียบง่าย ประสิทธิภาพสูง ประหยัดน้ำมัน แข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย น้ำหนักเบา และราคาเหมาะสม รวมทั้งให้มีความสามารถในการเป็นเรือ 70% และเป็นรถ 30% เสมือนเป็นเรือหางยาวและรถสามล้อติดเครื่องขนาดใหญ่ในคันเดียวกัน สามารถใช้อะไหล่จากรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซด์ได้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ราคาไม่แพง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบำรุงรักษาด้วยตนเองได้โดยง่าย และอู่ซ่อมรถตามต่างจังหวัดสามารถซ่อมได้อย่างง่ายดาย”

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่