ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า คว้า 3 รางวัล การแข่งขัน 5MSPP 2024 ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1-ชมเชยผู้บริหาร- อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือ ม.ไต้หวันคณะวิศวฯ สำรวจ-แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสัง จ.หนองบัวลำภูนิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ได้รับคัดเลือกป็นนิสิตสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปี 2567  ระดับดีมากบุคลากรสายสนับสนุนได้รับอนุมัติดำรงตำแหน่งชำนาญการบุคลากรสายสนับสนุนภาควิชาวิศวกรรมเคมี ด้รับรางวัลอันดับที่ 3 พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนร่วมยินดี คณะวิศวฯ มก. วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 21 ปีนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน “ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์”ระดับโลกคณะวิศวฯ ร่วมมือ บ.โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมนิสิตคณะวิศวฯ กวาด 3 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1 – Popular Vote Campus Challenge 2023 โดย โตโยต้า ถนนสีขาว

Sync Innovation: 3D Printing Company นิสิตเก่าวิศวฯ กับบทบาทเจ้าของธุรกิจเครื่องพิมพ์สามมิติที่คนไทยเป็นเจ้าของได้ในราคาต้นทุนต่ำ

เครื่องพิมพ์สามมิติ นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่หลายคนนึกถึงเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ก้าวหน้าและได้รับความสนใจอย่างมากในทุกวันนี้ เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้าต้นแบบได้ เนื่องจากไม่ต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้วยังสามารถผลิตสินค้าต้นแบบได้ทันที แต่เครื่องพิมพ์สามมิติที่มีในปัจจุบันส่วนใหญ่ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาต่อเครื่องสูง ผู้ที่ต้องการใช้งานทั่วไปไม่สามารถซื้อมาใช้งานได้ จากจุดนี้เองทำให้ธนวัฒน์ ตั้งเขื่อนขันธ์ นิสินเก่าวิศวกรรมเครื่องกล รุ่น E59 KU63 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงศ์ อินโนเวชัน ตัดสินใจเปิดบริษัทดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้เครื่อพิมพ์สามมิติในราคาที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้

ย้อนไปในช่วงการเรียนระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ธนวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า “ตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวฯ มก. ได้เลือกทำหัวข้อปริญญานิพนธ์ (Senior Project) เกี่ยวกับกระบวนการผลิตโดยใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูป (Molding) แล้วรู้สึกชอบจึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทในสาขาวิชาเดิม โดยระหว่างได้ทำงานเป็นนักวิจัยที่ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวฯ มก. ควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้มากพอจึงเกิดความคิดที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเองขึ้นมา แต่ติดปัญหาเรื่องข้อจำกัดของเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนการผลิตในสมัยนั้นค่อนข้างสูง”

เมื่อยังไม่ได้สร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง ธนวัฒน์จึงคิดหาประสบการณ์ด้านธุรกิจเพิ่มเติมโดยเริ่มทำงานที่บริษัท บีเอเอสเอฟ ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานด้านปิโตรเคมีของประเทศเยอรมนี และอีกแห่งที่ได้ทำงาน คือ บริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ซึ่งระหว่างทำงานที่บริษัทโตโยต้า ได้ลองสั่งซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้งาน แล้วพบว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ในการต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เนื่องจากสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้โดยไม่จำเป็นต้องผลิตในปริมาณมาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าการใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูป

จากความชอบและสนใจในการผลิตโดยใช้แม่พิมพ์อยู่ก่อนหน้าบวกกับประสบการณ์การทำงานทั้งสองแห่ง ทำให้ธนวัฒน์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะด้านการบริหารงานและมุมมองด้านธุรกิจ หลังจากนั้นจึงได้ตัดสินใจออกมาเปิดบริษัทดำเนินการเกียวกับเครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงเทคโนโยลีการพิมพ์สามมิติในราคาที่เข้าถึงและเป็นเจ้าของได้ มีขนาดใหญ่และราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศถึง 4-5 เท่า ช่วยลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัย การบำรุงรักษาและการใช้งานง่ายขึ้น

“ช่วงแรกในการทำธุรกิจนี้ มีปัญหาการผลิตกับการขายไม่สัมพันธ์กัน จึงได้นำความรู้ด้านธุรกิจจากการทำงานที่บริษัทโตโยต้ามาปรับใช้ในการทำงานเรื่องระบบการผลิต เช่น การปรับระบบสายพานการผลิต การประชุมวางแผนการขาย และการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ในอนาคตมีแผนขายธุรกิจออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านตัวเครื่อง (Machine) จะพัฒนาและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของลูกค้า โดยมองไปที่ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมออกแบบ อุตสาหกรรมพลาสติก รวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่ใช้ในการเรียนการสอน และด้านวัสดุการพิมพ์หรือปรินท์สามมิติ (Material) ที่จะพัฒนาขึ้นเองเพื่อรองรับการใช้งานและทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ” ธนวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย…

สำหรับผู้ที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง ธนวัฒน์ได้แนะนำให้เตรียมความพร้อมใน 4 ด้าน คือ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องรู้มากกว่าลูกค้า เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ เวลาที่จะทุ่มเทให้กับธุรกิจ ในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจมีสิ่งที่จะต้องเรียนรู้และทำอยู่ตลอดเวลา เงินลงทุนที่พร้อม ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนเอง ในต่างประเทศมีกองทุน Crowdfunding ที่จะระดมทุนให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ สำหรับในเมืองไทยมีหน่วยงานของรัญและเอกชนที่สนับสนุนการทำธุรกิจ และสุดท้ายคือที่ปรึกษาทางธุรกิจ การที่เรามีที่ปรึกษาที่จะช่วยให้ลดเวลาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตรงจุดมากขึ้น

ปัจจุบัน ธนวัฒน์ศึกษาอยู่ระดับปริญญาเอก ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากความชอบ ความสนใจจนกลายเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องพิมพ์สามมิติ นอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์และการเรียนรู้ตลอดเวลา ธนวัฒน์ยังได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำงานมาต่อยอดให้กับธุรกิจเครื่องพิมพ์สามมิติในปัจจุบันอีกด้วย…

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่