ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

นักเทคโนโลยีดีเด่น ความภาคภูมิใจ ที่ไม่เคยลืม…กับรางวัลเรือใบซูเปอร์มด

รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สุวรรณวิทยา และรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล สัจจวาณิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้เล่าถึงความ ภาคภูมิใจกับการได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นรุ่นแรกที่ได้รับรางวัล เป็นพระบรมรูปขณะทรงเรือใบซูเปอร์มดหล่อด้วยบรอนซ์  ผลงานที่ทำให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในชีวิตคือผลงานใด ตามมา ฟังอาจารย์ทั้งสองท่านเล่าให้ฟังกัน…

“ผลงานที่ได้รับรางวัล คือ กลุ่มพัฒนาการใช้ประโยชน์จาก เถ้าลอย เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ก๊าซเรือนกระจก) ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของปูนซีเมนต์โดยน้ำหนัก โดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการ ผลิตปูนซีเมนต์ คิดเป็นประมาณ 25 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2543 โดยได้ร่วมทำวิจัยกับกลุ่มผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในและ ต่างประเทศ รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำวิจัย ในหัวข้อเกี่ยวกับคุณสมบัติระยะสั้นและระยะยาวของคอนกรีตผสม เถ้าลอย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณานำเถ้าลอยไปใช้ประโยชน์ ในงานก่อสร้างในประเทศไทย”

จากผลงานดังกล่าวส่งผลให้อาจารย์ทั้งสองท่านได้รับรางวัล นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2545 นับเป็นครั้งแรกที่มีการมอบ รางวัลดังกล่าว จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยรางวัลนี้ได้มีการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรม ราชานุญาต ให้สร้างพระบรมรูปขณะทรงเรือใบซูเปอร์มดหล่อด้วย บรอนซ์ เพื่อเป็นรางวัลแก่นักเทคโนโลยีดีเด่นและเหรียญรางวัลแก่ นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ในวันเทคโนโลยีแห่งชาติของทุกปี เพื่อส่งเสริม และเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่โดดเด่นมีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศในวงกว้าง ทั้ งในเชิ งความเป็นอยู่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและพาณิชย

“ในส่วนงานวิจัยการพัฒนาใช้ประโยชน์เถ้าลอยลิกไนท์ไทย ซึ่งได้รับรางวัลในปีแรกนั้น เป็นงานวิจัยร่วมที่กลุ่มนักวิจัย 14 คน จาก 8 มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย ร่วมวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงสมบัติ พฤติกรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อนำเถ้าลอยลิกไนท์ที่เดิม เคยต้องกำจัดทิ้งและเป็นปัญหามลภาวะต่อสภาพแวดล้อมมาใช้ ในอุตสาหกรรมคอนกรีตและก่อสร้างเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาท และผลงานวิจัยนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัย พัฒนา และการนำมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนอาจกล่าวได้ว่า งานคอนกรีตส่วนใหญ่ในประเทศมีการใช้เถ้าลอยร่วมกับปูนซีเมนต์ เป็นส่วนใหญ่

งานวิจัยที่ทางคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนร่วมวิจัยนั้นเป็นการศึกษาคุณสมบัติระยะสั้นและระยะยาว ของคอนกรีตผสมเถ้าลอย ทั้งในด้านความสามารถทำงานได้ กำลัง และความคงทนในระยะสั้นและยาวในสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่ง สนับสนุนการประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างจริงอย่างมีประสิทธิภาพตาม ต้องการ การได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นนั้นเป็นแรงบันดาลใจ สำคัญยิ่ง ให้ผู้ได้รับมุ่งมั่นทำงานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของสังคม และเป็นตัวอย่างต่อนิสิต นักศึกษาและนักวิจัยรุ่นต่อๆ มา อีกด้วย” อาจารย์ทั้งสองต่างเล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจอย่าง ไม่รู้ลืม….

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่