ENG KU NEWS

วันพุธที่ 04 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ ร่วมมือกับ บ.แอดวานซ์ คอร์ปอเรชั่น ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม ทางด้าน Industrial IoTคณะวิศวฯ ร่วมมือกับ บ.ไทย คริติคัล มิเนอรัลส์ จำกัด ด้านงานวิจัยและวิชาการอาจารย์วิศวฯ ไฟฟ้า ได้รับรางวัล Outstanding Young Engineer Award (OYEA) 2024คณะวิศวฯ จัดพิธีเปิด ศูนย์สาธิตระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบประกาศอพยพ และระบบดับเพลิง เสริมความแกร่งด้านวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยคณะวิศวฯ ศึกษาดูงาน หลักสูตรนานาชาติ International School of Engineering (ISE)คณะวิศวฯ ร่วมยินดีสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มก. ครบรอบ 55 ปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมนำผลงานออกแสดงในงาน One Stop Open House 2024คณะวิศวฯ ลงนามความร่วมมือกับ บ.สยามเทคนิคคอนกรีต (STEC) ด้านวิชาการภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดงาน KU Computer Engineering JOB FAIR‍คณะวิศวฯ – สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ – มจธ.- iRIC ญี่ปุ่น ร่วมจัดสัมมนาวิชาการด้านน้ำ

คณะวิศวฯ ต้อนรับคณะดูงานจากสำนักการโยธา กทม. เข้าชมห้องปฏิบัติการและวิจัยเทคโนโลยี Cleanroom

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ศ.ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ปารเมศ กำแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมผู้บริหารและคณาจารย์ ร่วมให้การต้อนรับคณะดูงานจากสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 24 คน นำโดยนางสาวสุมนมาลย์ กาญจนะ ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ กองควบคุมการก่อสร้าง เข้าชมห้องปฏิบัติการและวิจัยเทคโนโลยี Cleanroom ซึ่งเป็นนวัตกรรมภายใต้โครงการศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้และวิจัยห้องสะอาดต้นแบบของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ณ ห้องประชุม ชั้น 19 อาคารภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (อาคาร 6)
ห้องปฏิบัติการและวิจัยเทคโนโลยี Clean room นับเป็นแหล่งวิจัยและการเรียนรู้ชั้นนำ ที่ได้รับออกแบบตามมาตรฐานระดับสูง โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท พราว เทคโนเวชั่น จำกัด โดยมี รศ.ดร.ประกอบ สุรวัฒนาวรรณ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นหนึ่งในทีมผู้ออกแบบและพัฒนาห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นต้นแบบในการออกแบบคลีนรูมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงเป็นห้องที่สามารถใช้เป็นแหล่งให้นิสิตคณะได้ศึกษาการทำงานได้ทั้งสถานภาพห้องแรงดันบวกและแรงดันลบ สร้างอัตราการไหลของอากาศที่ 25 ACH (Air Changes per Hour) ควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 20-24 องศาเซลเซียส ควบคุมความดันในช่วง -5 ถึง 5 ปาสคาล และควบคุมความชื้น ที่ระดับ 40-60% RH ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยและการผลิตที่ต้องการสภาพแวดล้อม ที่ปลอดเชื้อสูง

ผู้สนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0 2797 0999 ต่อ 1803-4

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่