ENG KU NEWS

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน “ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์”ระดับโลก

นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย นายณัฏฐ์ ปรัชญกุล นายนภัสกร แซ่เนี้ยว นายสิรภัทร ปันมูล นายอนวัช มูลมณี และนายกฤติวิทย์ คำประดำ โดยมี อ.ดร. ชวณัฐ นาคะสันต์ เป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน ASC Student Supercomputer Challenge คณะกรรมการการแข่งขันประกอบด้วย Professor Jack Dongarra และคณะ ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2567
โดยนายณัฏฐ์ ปรัชญกุล หัวหน้าทีม ได้อธิบายว่า การแข่งขัน ASC Student Supercomputer Challenge “เป็นการแข่งขันที่จะให้ผู้เข้าร่วมได้ติดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์เซิร์ฟเวอร์และจัดการระบบเครือข่ายภายในตั้งแต่ขั้นตอนแรกสุด รวมถึงการทำให้โปรแกรมที่ผู้จัดงานเตรียมมาให้ทั้งหมด 6 ข้อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเร็วมากที่สุด โดยการแข่งขันนี้เป็นประสบการณ์การแข่งครั้งแรกของทุกคนภายในทีม ทำให้ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ล้ำค่าที่หาได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นการได้ใช้อุปกรณ์อย่าง Infiniband ที่ในประเทศไทยมีเพียงไม่กี่คนที่เคยได้ใช้อุปรกณ์นี้ และการได้นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำให้โปรแกรมทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นคือการได้พบเจอทีมจากต่างประเทศที่มีประสบการณ์การแข่งขันทางด้านนี้เยอะ ทำให้เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน”
อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม อ.ดร. ชวณัฐ นาคะสันต์ ให้ความเห็นว่า นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นมีศักยภาพและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สูงมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การได้ไปทดสอบฝีมือกับเครื่องมือใหม่ ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีความท้าทายและพบปะผู้ที่มีความสนใจร่วมกันจากทั่วโลก ทำให้เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ พัฒนาความเป็นผู้นำ และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมผู้พัฒนาระบบการประมวลผลสมรรถนะสูง จะเป็นการสร้างโอกาสทั้งการทำงานและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กรที่ดีต่อไป
การแข่งขันในครั้งนี้ นิสิตได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนและการฝึกฝนไปใช้ในสภาพที่มีความกดดันสูง ต้องทำงานแข่งกับเวลาและเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย ทำให้ได้รับความรู้อีกมากมายนอกจากที่ได้จากในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ การใช้งานจริง การแก้ปัญหา และความแตกต่างระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ รวมถึงแนวคิดในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันของผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละวัฒนธรรมและช่วงวัยอีกด้วย
ขณะนี้ ทีมแข่งขันได้เดินทางกลับประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีกระบวนการกระจายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับนิสิตอื่นต่อไป
นิสิตที่เข้าร่วมการแข่งขัน (ตามลำดับในใบประกาศฯ)
– นายณัฏฐ์ ปรัชญกุล
– นายนภัสกร แซ่เนี้ยว
– นายสิรภัทร ปันมูล
– นายอนวัช มูลมณี
– นายกฤติวิทย์ คำประดำ
อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม อ.ดร. ชวณัฐ นาคะสันต์ (เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่)

ประธานคณะที่ปรึกษาและหัวหน้าห้องปฏิบัติการ ศ.ดร. จันทนา จันทราพรชัย

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่