ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

WOW Project Engineering New Gen 2015

  • ยานดำน้ำขับเคลื่อนอัตโนมัติ
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    ยานดำน้ำขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นหุ่นยนต์อัจฉริยะทำงานด้วยมอเตอร์ 8 ตัว สามารถปรับทิศทางการเคลื่อนไหว เดินหน้าถอยหลัง หันซ้ายหันขวาได้ และทำงานใน 2 รูปแบบคือ การบังคับด้วยมือ หรือ ROV โดยสั่งงานผ่านเครือข่าย LAN ให้ทำสิ่งต่างๆ เช่น หยิบจับสิ่งของและการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือ AUV ซึ่งมีการใช้เซ็นเซอร์ เครื่องโซนาร์ ระบบประมวลผลและตรวจจับ เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวตามทิศทางที่กำหนดอย่างแม่นยำ ได้พัฒนาต่อยอดจากเดิม เพิ่มความสามารถด้านเซ็นเซอร์สำหรับระบบนำร่อง การสำรวจน้ำมัน ท่อขุดเจาะโซนาร์ รวมถึงเซ็นเซอร์สำรวจพื้นผิวใต้น้ำ และเซนเซอร์ดมกลิ่นก๊าซใต้น้ำ

  • รองเท้าเสริมแรง
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ธร พรหมบุตร อาจารย์ ดร.อรรถพร วิเศษสิทธุ์ อาจารย์ ดร.กรรมมันต์ ชูประเสริฐ และอาจารย์ชาญเวช ศีลพิพัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    รองเท้าเสริมแรง เป็นขาต่อสปริงที่เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ของคนโดยไม่ต้องอาศัยพลังงานจากภายนอกทำให้เดินทานได้ระยะทางมากขึ้น ลดความเหนื่อยล้าสำหรับการเดินทางในป่าหรือพื้นที่ทุรกันดาร รวมทั้งการใช้รองเท้าเสริมแรงในการออกกำลังกาย เพื่อลดการกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนช่วยในการเดินสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตท่อนล่างได้อีกด้วย โดยการออกแบบใกล้เคียงกับรองเท้าบูทปกติ โดยยกสูงจากพื้น 30 เซนติเมตร สามารถเปลี่ยนพื้นสัมผัสได้ เพื่อให้ความเหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นดิน พื้นหินกรวด หรือภูเขาหิน เป็นต้น โดยใช้ขาต่อที่มีระบบสปริงที่ทำให้คนทั่วไปกระโดดสูงได้ถึง 5 เมตร จากพื้น หรือวิ่งได้ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • ประชากรหุ่นยนต์ โรบอทส์ ซิติเซ่นส์
    ผลงานของ อาจารย์ ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย และนายธีรธัช อริยชาติผดุงกิจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    ปัจจุบันการดึงดูดผู้ชมให้เข้าชมงานนิทรรศการหรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ นับเป็นจุดประสงค์สำคัญของผู้จัดงาน ซึ่งการใช้หุ่นยนต์นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเรียกความสนใจให้ผู้เข้าชมงานได้ดี การพัฒนาหุ่นยนต์ทรงตัวเองบนลูกบอล เป็นการนำความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
    หุ่นยนต์ทรงตัวเองบนลูกบอลต้นแบบที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาต่อยอดมาจากหุ่นยนต์รุ่นแรก ๆ ให้มีความสวยงามและมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมมีการติดตั้งระบบสื่อสารไร้สาย และระบบฝังตัวลินุกซ์ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถส่งภาพจากกล้องหน้าหุ่นยนต์มายังคอมพิวเตอร์หลัก เพื่อแสดงภาพขณะที่หุ่นยนต์ทำงานอยู่และส่งข้อมูลการเคลื่อนที่กลับไปยังหุ่นยนต์เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ต้องการได้

  • เครื่องคัดเกรดด้วยเกณฑ์น้ำหนัก
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยากร จันทร์สุวรรณ์ และนางสาวศิวกาญจน์ แจ่มสุข ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    เครื่องคัดเกรดด้วยเกณฑ์น้ำหนัก เป็นเครื่องจักรที่มีขนาดเล็ก ใช้สำหรับงานเกษตรอุตสาหกรรมในขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคัดแยกผักและผลไม้ เช่น เสาวรส อะโวกาโด เลมอน พลับ ส้ม พริกหวาน เป็นต้น โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักในการแบ่งเป็นเกรดต่างๆ เพื่อบรรจุขาย สามารถคัดแยกผัก ผลไม้ในช่วงน้ำหนัก 10-300 กรัม โดยสามารถแยกเกรดผัก ผลไม้ได้มากที่สุดถึง 7 เกรด ชั่งน้ำหนักได้อย่างแม่นยำ ทำงานได้รวดเร็ว ไม่ต่ำกว่า 7,200 ผลต่อชั่วโมง เหมาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สามารถลดค่าใช้จ่ายแรงงานและระยะเวลาในกระบวนการตลอดจนรักษาความสดใหม่ของผัก ผลไม้ก่อนถึงมือผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

  • เครื่องกายภาพบำบัดแบบสายพานเดินในน้ำ
    ผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต กิตติชัยการ และนางสาวเจษฎาภรณ์ ปริยตากล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    เครื่องกายภาพบำบัดแบบสานพานเดินในน้ำ เป็นเครื่องกายภาพบำบัดที่อาศัยหลักการนำประโยชน์ของแรงลอยตัวของน้ำที่ช่วยพยุงและลดแรงที่กดลงบนข้อเข่า โดยใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการบำบัดซึ่งนอกจากจะลดแรงกระแทก และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในขณะฝึกและออกกำลังในน้ำแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าช้ำสำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพ และผู้สูงอายุที่ต้องการออกกำลังกาย โดยออกแบบให้ประหยัดพื้นที่และประหยัดน้ำ ปลอดภัยต่อการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ปรับความเร็วได้ ราคาต่ำกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศ

  • การพัฒนาชุดควบคุมหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรมเคลื่อนที่อิสระ 6 แกน สำหรับการฟื้นฟูสภาพ
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ รักษ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    การพัฒนาชุดควบคุมหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม เคลื่อนที่อิสระ 6 แกน สำหรับการฟื้นฟูสภาพ เป็นการพัฒนาระบบเพื่อต่อยอดในการฟื้นฟูสภาพของหุ่นยนต์เก่าหรือหุ่นยนต์สภาพมือสองในสถานศึกษาหรือภาคอุตสาหกรรม ที่ชุดควบคุมและระบบควบคุมมอเตอร์ได้รับความเสียหายจากการใช้งานมานานให้สามารถใช้งานได้อีกครั้ง เช่น การใช้ในงานเชื่อม การประกอบ การเคลื่อนย้ายวัสดุ และการขึ้นรูป เป็นต้น ซึ่งชุดควบคุมหุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ 6 แกนที่สามารถใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต

  • การนำเทคโนโลยีสแกนสามมิติ เพื่ออนุรักษ์สะพานปูนปั้นในกรุงเทพมหานคร
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คุณยุต เอี่ยมสอาด และนายกิตตินาถ วรรณิสสร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    การอนุรักษ์สะพานปูนปั้นในกรุงเทพมหานครเป็นการอนุรักษ์สะพาน โดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างการทำสำเนา 3 มิติแบบดั้งเดิม คือการทำแม่พิมพ์และการหล่อซึ่งเป็นกระบวนการด้านประติมากรรมและแบบที่ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์การสแกนภาพ 3 มิติ ร่วมกับเทคนิคการผลิตซ้ำ โดยใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน เครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC เนื่องจากทั้งสองเทคนิคมีข้อดีและข้อด้อยที่สามารถเสริมกันได้ ซึ่งการอนุรักษ์โบราณวัตถุมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลเพื่อการเปรียนเทียบ อ้างอิงในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นสำเนา 3 มิติ และข้อมูลเสมือนจริง เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับศึกษาและการซ่อมแซมที่ถูกต้องในอนาคต
    โดยจะมีลักษณะของการบูรณาการความรู้ด้านทัศนคติศิลป์เข้ากับวิศวกรรม เน้นการสำรวจและการศึกษาเฉพาะงานศิลปกรรม ประติมากรรมปูนปั้นประดับสะพาน โดยให้ความสำคัญเรื่องคุณค่า และรูปแบบที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในส่วนที่ไม่กระทบกระเทือนโครงสร้างของสะพานเท่านั้น

  • การพัฒนาเครื่องกัด ซีเอ็นซี 5 แกน สำหรับขึ้นรูปชิ้นงานทางทันตกรรมที่มีรูปร่างซับซ้อน
    ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ รักษ์ศิริ และนายตฤณ สังข์ทอง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    เครื่องกัดซีเอ็นซี 5 แกนสำหรับขึ้นรูปงานทางทันตกรรมที่มีรูปร่างซับซ้อน เป็นการศึกษาและออกแบบขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานทางทันตกรรมที่มีความซับซ้อนสูง ด้วยกระบวนการตัดเฉือนโลหะจากเครื่องกัดซีเอ็นซี 5 แกน และเพื่อเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้การวิจัย และพัฒนาต่อยอดในประเทศทางด้านวัสดุทางการแพทย์ทางทันตกรรมให้มีความสำเร็จมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งปัจจุบันกระบวนการที่นิยมมากที่สุดคือกระบวนการขึ้นรูปด้วยการตัดเฉือน แต่เนื่องจากชิ้นส่วนทางทันตกรรมมีขนาดเล็กและมีพื้นผิวที่ซับซ้อน และต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง และต้องการความสะอาดในการขึ้นรูปดังนั้น เครื่องจักรที่ใช้กับการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ต้องเป็นเครื่องเฉพาะทางและมีการเคลื่อนที่ หรือองศาความอิสระ (Degree of Freedom) ในการเคลื่อนที่ที่มากกว่าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ

  • การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ทางด้านการแพทย์
    ผลงานของ อาจารย์ ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุข นายสรวิศ สถาพรชัยสิทธิ์ นางสุมนมาศ ดีอินทร์ นายนคร นิรมิตวสุ นายนิพันธ์ สุระพงษ์ นายนวฤกษ์ ประจาค่าย และนายณพล วรชิตชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    แนวโน้มในอนาคตความต้องการที่จะจำหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลืองานมนุษย์มีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการแพทย์ ซึ่งระบบในหุ่นยนต์ต้องมีความปลอดภัยสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเก็บข้อมูลในการทำกายภาพบำบัดแต่ละครั้ง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ของนักกายภาพบำบัดได้อีกด้วย
    โดยการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ทางด้านการแพทย์ ได้พัฒนาให้สามารถลดสัญญาณรบกวนด้วยการไม่ใช้ระบบเซ็นเซอร์ในการวัดค่าแรงภายนอกที่กระทำกับหุ่นยนต์ แต่ได้ใช้การใช้ตัวสังเกตการณ์สัญญาณรบกวนจากตัวกรองคาลมานแทน ทำให้การส่งผ่านแรงสัมผัสระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่