ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

ทีมนิสิตวิศวฯ คอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize Award จากการแข่งขันนานาชาติ ASC15 Asian Student Supercomputer Challenge

สมาชิกทีม Lightning Green ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 คน คือนายสุภชีพ อ่ำเทศ (หัวหน้าทีม) นายณัช เรือนเพ็ชร์ นายศตพัสส์ นวพานิชย์ และนายอัครเดช สินเสมอสุข และนิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 1 คน คือนายนมัสวิน หาญมงคลชัย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จันทนา จันทราพรชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ และนายพิสิษฐ์ มรรคไพสิฐ นักวิจัย ร่วมเป็นที่ปรึกษาทีม

รองศาสตราจารย์ ดร.จันทนา เล่าว่า “การแข่งขัน ASC15 Asian Student Supercomputer Challenge เป็นการแข่งขันระดับโลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 4 การแข่งขันนี้ เป็นการแข่งขันในการสร้างระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กให้ทำงานเร็วที่สุดโดยที่กินกำลังไฟไม่เกิน 3,000 วัตต์ วิธีการคัดเลือกผู้เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย คือการให้แต่ละทีมออกแบบระบบและทำการทดสอบมาจากนั้นยื่นข้อเสนอทางเทคนิคให้กรรมการทางเทคนิคคัดเลือก โดยในทุกปี ผู้เข้ารอบสุดท้ายมักจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก

แต่ในปีนี้ทีมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 150 แห่ง ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคเข้าไป ซึ่งทางคณะกรรมการได้คัดเลือกให้ข้อเสนอของทีม Lightning Green จากห้องปฏิบัติการวิจัยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นครั้งแรกของการแข่งขันที่มีทีมไทยผ่านเข้ารอบไปแข่งขันร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง เช่น ทีมจาก Tsinghua University และ Shanghai Jiaotong University สาธารณรัฐประชาชนจีน Nanyang Technological University สาธารณรัฐสิงคโปร์ Boston Green MIT Boston University Northeast University ประเทศสหรัฐอเมริกา”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ เล่าเสริมว่า “การแข่งขันคราวนี้ เริ่มจากวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2558 รวม 5 วัน โดยทีมนิสิตจะต้องสร้างระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กให้ทำงานได้ภายในสองวันแรก จากนั้นต้องรันโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมจำนวน 6 โปรแกรม ได้แก่ HPL, NAMD WRF-CHEM PALABOS Gridding และ Secret Application ให้ทำงานเร็วที่สุด โดยกินกำลังไฟไม่เกิน 3000 วัตต์ โดยคณะกรรมการการแข่งขันได้กำหนดงานที่ต้องทำมาให้ ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความซับซ้อนสูงมาก เพราะต้องแข่งกันปรับเครื่อง ปรับซอฟต์แวร์และแก้ปัญหาทันที

ถ้าตัดสินใจพลาดจะทำให้โปรแกรมนั้นทำงานไม่ทันในเวลาที่กำหนด โดยทางทีมนิสิตทำงานได้อย่างดียิ่ง และสามารถทำให้โปรแกรมทุกตัวทำงานได้อย่างดี

สำหรับรางวัลในการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายจะได้รับรางวัล First Prize Award จากทีมทั่วโลกที่สมัครร่วมการแข่งขันกว่า 150 ทีม โดยภายในการแข่งขันจะมีการให้รางวัลเฉพาะผู้ที่เร็วสุดในแต่ละโปรแกรมเรียกว่า Application Innovation Award ผู้ที่ทำให้ Gridding ทำงานเร็วที่สุด เรียกว่า e-innovation award ซึ่งทีม Sun Yat-Sen University สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับรางวัลนี้ไป สำหรับรางวัล HPL เร็วที่สุด ได้แก่ ทีม NTU จากประเทศสิงคโปร์ รางวัลคะแนนรวมสูงสุดตกเป็นของ Tsinghua University จากสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำคะแนนได้ในระดับบกลาง ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนที่ดีมากสำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก”

สุภชีพ หัวหน้าทีม เล่าทิ้งท้ายว่า “การแข่งขันคราวนี้เปิดโอกาสให้นิสิตและอาจารย์มีโอกาสเห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ นิสิตได้มีโอกาสสัมผัสติดตั้งระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของจริง รวมทั้งได้ประสบการณ์ทักษะในการติดตั้งปรับแต่งโปรแกรมที่รันบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้กับทีมอื่น ๆ เช่น ทีมจากมหาวิทยาลัยชื่อดังจากสิงคโปร์ (NTU) จากฮ่องกง จากอเมริกา (MIT) และจากฮังการี เป็นต้น

นอกจากนั้นยังได้เห็นแนวทางการเตรียมการสำหรับการแข่งขันในปีหน้าอย่างชัดเจน ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ ช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและการวิจัยเชิงลึกในสาขาอีกมาก การแข่งขันลักษณะนี้มีจัดทุกปี โดยจัดเพียง 3 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ในงาน ISC International Supercomputing Conference หรือ ISC ประเทศเยอรมนี งาน Supercomputing Conference ประเทศสหรัฐอเมริกา และในงาน ASC Student Supercomputer Challenge ที่ไปเข้าแข่งในครั้งนี้ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน การแข่งขันครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมการเพื่อความพร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีอื่น เช่น สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีในปีหน้าต่อไป”

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่