ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

อาจารย์วิศวฯ โยธา ได้รับพระราชทานรางวัล The King of Thailand’s Vetiver Awards 2015 Certificate of Excellence

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 6 The Sixth International Conference on Vetiver จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2558 ในการนี้ ได้พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด The King of Thailand Vetiver Awards 2015 จำนวน 15 ราย โดยมีคนไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัล และชาวต่างชาติ 3 รางวัล จากประเทศคองโก บังกลาเทศ จีน และรางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 9 รางวัล ซึ่งมี คนไทยได้รับจำนวน 5 รางวัล และต่างประเทศ 4 รางวัล ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินิติ โชติสังกาศ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้รับรางวัลพระราชทาน The King of Thailand’s Vetiver Awards 2015 Certificate of Excellence ด้านงานวิจัยดีเด่น (Outstanding Research) ประเภทนอกภาคเกษตรกรรม (Non-Agriculture Application) จากผลงานวิจัย เรื่อง Engineering Characterization of Vetiver System for shallow slope stabilization

ผลงานวิจัยดังกล่วเกี่ยวข้องกับการใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะและดินถล่มระดับตื้น แต่การศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับสมบัติทางวิศวกรรมศาสตร์ของระบบหญ้าแฝก (Vetiver system) โดยเฉพาะด้านกำลังเฉือน การไหลซึมของน้ำสู่ดิน และกำลังที่เปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นนั้นยังมีข้อจำกัด ซึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทีมผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิค Minirhizotron ในการสังเกตปริมาณรากในสนาม และเชื่อมโยงกับการทดลองสมบัติด้านกลศาสตร์ และการไหลซึมของดินที่มีหญ้าแฝกในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งใช้การจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธี Finite Element เพื่อจำลองปฏิสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนที่ตกสู่ลาด และระดับความปลอดภัยของลาด ช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพของหญ้าแฝกในเชิงปริมาณ โดยหญ้าแฝกมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มเสถียรภาพของลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความชันที่ประมาณ 30 องศา ซึ่งเป็นระดับความชันที่มักพบดินถล่มในลาดธรรมชาติ และทราบข้อจำกัดบางประการอาจนำมาสู่การเกิดโพรงขึ้นในลาดดิน และทำให้ลาดชันที่ความสูงกว่า 60 องศา มีความปลอดภัยลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้ในการประเมินคุณภาพของการใช้หญ้าแฝกในทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันดินถล่มระดับตื้นได้อย่างยั่งยืน

สำหรับบทความวิจัยนี้ เป็นการสรุปงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกที่อยู่ระหว่างดำเนินการโดยนายธีรภัทร์ ศิริรัตนฉัตร นายฉัตรชัย รัตรอารีกุล และนายไกรโรจน์ มหรรณพกุล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน และกลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด เป็นงานวิจัยทั้งในห้องปฏิบัติการและการใช้แบบจำลองร่วมกับการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยเน้นการศึกษาร่วมกับชุมชนที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏ์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเคยประสบภัยพิบัติดินถล่มในอดีต

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่