ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

เครื่องตรวจสอบและคัดแยกไข่ ที่มีโอกาสฟักอัตโนมัติผลงานนิสิตวิศวกรรมอุตสาหการ

ทีมวิจัยจึงมีแนวคิดสร้างเครื่องตรวจสอบและคัดแยกไข่ที่มีโอกาสฟักขึ้นด้วยการนำระบคอมพิวเตอร์มาประมวลผลในการคัดเลือกไข่แทนการส่องไข่ด้วยตาเปล่า เพื่อลดความผิดพลาดในขั้นตอนการฟักไข่” นันท์นภัส หนึ่งในสมาชิกทีมนิสิตนักพัฒนากลุ่มนี้ เล่าให้ฟังถึงที่มาในการพัฒนา

“ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้น สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำมีประสิทธิภาพ คงที่ตลอดเวลา ต่างจากการใช้แรงงานคนที่หากทำงานไประยะเวลาหนึ่ง จะเกิดความเหนื่อยล้า ส่งผลให้เกิดความผิดพลาด รวมถึงความชำนาญในการส่องไข่และประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดการคัดเลือกไข่ให้มีความคงที่ได้ แต่สำหรับหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัตินั้นสามารถควบคุมและกำหนดได้ทำให้เราได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเท่ากันทุกครั้ง

ผู้ใช้งานสามารถรู้ปริมาณผลผลิตหรือควบคุมได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ทราบข้อมูลกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา หากพบข้อผิดพลาดทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ซึ่งเมื่อเรานำระบบนี้เข้ามาใช้ในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตจะสามารถเพิ่มผลผลิตและควบคุมคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” เอกภพและธนกร กล่าวเสริม

เครื่องตรวจสอบและคัดแยกไข่ที่มีโอกาสฟักอัตโนมัติมีโครงสร้างหลักเป็นอลูมิเนียมและเหล็ก ประมวลผลด้วยหลักการ Image Processing และคัดแยกไข่ที่ไม่สามารถฟัก ออกได้อัตโนมัติ การใช้งานง่ายๆ คือนำไข่เข้าเครื่องครั้งละ 1 ถาด เครื่องจะทำการประมวลผล และคัดไข่ที่ไม่สามารถฟักออกให้อัตโนมัติ เครื่องนี้สามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากคนได้ มีความแม่นยำในการตรวจสอบ โดยจะช่วยเกษตรกรไทยที่ทำฟาร์มไก่ในเรื่องของจำนวนไก่ที่สามารถฟักออกมาได้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้นเนื่องจากไข่ที่เสียหาย น้อยลงนั่นเอง

ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ ทำงานเพื่อลดความผิดพลาดและลดการใช้แรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมได้นำมาใช้ กันมาก นอกจากจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานแล้วยังลดต้นทุน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ด้วย และนี่คือหนึ่งแรงบันดาลใจในการสร้าง เครื่องตรวจสอบและคัดแยกไข่ที่มีโอกาสฟัก อัตโนมัติ ผลงานของนิสิตภาควิชาวิศวกรรม อุตสาหการ ซึ่งเครื่องตรวจสอบดังกล่าวได้รับ รางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว คือ รางวัล รองชนะเลิศจากการประกวดในรายการ Delta Cup 2017 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนกรกฎาคม2560
สมาชิกทีมประกอบด้วย นิสิตภาควิชา วิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คน คือ นายเอกภพ เหล็กเพชร นายธนกร วัฒนาพร และนางสาวนันท์นภัส ทิพย์แสง โดยมีผู้ช่วย-ศาสตราจารย์ ดร.ชนะ รักษ์ศิริเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

“ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมเนื้อไก่เป็น อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และน่าลงทุนมาก เนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ตาม จำนวนประชากรโลกและประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครัวของโลกนั้นก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่สำคัญด้วย แต่อุตสาหกรรมการเกษตรแบบดั้งเดิมของเรามีผลผลิตและคุณภาพการผลิตที่ยังไม่ดีที่สุด เช่น ในอุตสาหกรรมไก่ ยังมีปัญหาในการฟักไข่ ออกเป็นตัว เนื่องจากยังมีไข่บางฟองที่ไม่สามารถ ฟักออกเป็นตัวได้ จึงต้องมีการคัดแยกไข่เหล่านั้น ออกจากขั้นตอนการฟัก เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่จะกระทบต่อไข่และลูกไก่ตัวอื่นๆ

วิธีแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการคัดแยกไข่ ที่ไม่สามารถฟักได้ เรียกว่าการส่องไข่ เป็นการนำไฟฉายส่องใต้ไข่ และสังเกตดูด้วยตาเปล่าว่ามีตัวลูไก่อยู่ข้างในและยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ซึ่งวิธีนี้ไม่มีความแม่นยำพอจึงทำให้มีความผิดพลาด เป็นประจำ

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่