ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
บุคลากรคณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งชำนาญการ/ชำนาญงานคณะวิศวฯ จับมือ คณะบริหารธุรกิจและบัณฑิตวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ เปิดโครงการเรียนล่วงหน้า 4+1 เรียน 5 ปี ได้ปริญญา 2 ใบ ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ + ป.โท บริหารธุรกิจคณะผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน ศึกษาดูงานระบบบริหารจัดการ-หารือความร่วมมือด้านวิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่นนิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวัน

อาจารย์วิศวฯ คิดเครื่องกรองน้ำดื่มสะอาดขนาดพกพา ผลิตไฟฟ้าได้ เหมาะกับหน่วยกู้ภัย/นักสำรวจ

ในพื้นที่ประสบอุทกภัยหรือพื้นที่ที่น้ำประปายังเข้าไป ให้บริการไม่ถึงนั้น สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการอุปโภค บริโภค เพื่อดำรงชีวิต คือ น้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรค ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว น้ำสะอาดเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ถึงแม้มองด้วยตาเปล่าพบว่าน้ำนั้น ใสสะอาด แต่อาจมีเชื้อโรค แบคทีเรีย อะมีบา หรือสิ่งมีไม่พึงประสงค์ ต่อร่างกายปะปนอยู่ หากร่างกายรับเชื้อโรคและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ต่างๆ เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

ด้วยเหตุนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล ฐานุตตมวงศ์ และ นายปรัชญา จันทร์ศักดิ์ อาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้คิดพัฒนาเครื่องกรองน้ำให้มีขนาดที่พกพาได้ง่าย สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกในทุก สถานที่

“เครื่องกรองน้ำขนาดพกพาที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ เป็นการต่อยอด จากเครื่องกรองน้ำที่พัฒนาขึ้นก่อนหน้า ในรูปแบบเครื่องกรองน้ำขนาดเล็กที่ใช้เท้าเหยียบ เครื่องกรองน้ำติดตั้งบนซาเล้ง และ เครื่องกรองน้ำที่ติดตั้งท้ายรถกระบะ โดยนำมาต่อยอดให้มีขนาด เล็กลง สามารถบรรจุลงเป้สะพายหลังขนาดเล็กได้ ต่อยอดไปบรรจุลงถุงยังชีพในช่วงภัยพิบัติได้ มีกลไกการกรองน้ำและผลิตไฟฟ้าภายใน เครื่องเดียวกันได้

ขั้นตอนการกรองน้ำไม่ยุ่งยาก โดยใช้เพียงพลังงานคนเพียง หนึ่งคนในการหมุนเพลาเพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำเพิ่มแรงดันให้ระบบ สามารถดันน้ำผ่านไส้กรองที่มีความละเอียดสูงได้ ซึ่งในขณะที่หมุนเพลา เพื่อสูบน้ำระบบจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าบรรจุในแบตเตอรี่ และ จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังหลอดอัลตราไวโอเลตเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค สามารถผลิตน้ำได้ในปริมาณที่พอเพียงต่อหนึ่งครัวเรือน”

อุปกรณ์ในชุดเครื่องกรองน้ำประกอบด้วย แขนหมุน ปั๊มรีด เกียร์ ซึ่งมีเฟืองทดใช้ในการหมุนมอเตอร์ เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า สวิตช์จ่ายไฟฟ้าจากมอเตอร์ไปยังกล่องวงจรเพื่อบรรจุกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ สวิตช์จ่ายไฟไปยังกระบอกอัลตราไวโอเลต กระบอกกรองอัลตรา ฟิลเตรชั่น หัวกรองหยาบ ชุดเก็บสายยางสูบน้ำชุดยึดอุปกรณ์ และ สายยางบริโภคน้ำ

“นอกจากที่เครื่องกรองน้ำจะมีระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตแล้ว ยังมีการกรองน้ำแบบเยื่อกรอง ที่หากมีการสะสมตัวของ ตะกอนบนผิวไส้กรองมากจนถึงขีดจำกัด ระบบกรองจะหยุดการผลิตน้ำโดยอัตโนมัติและจะไม่มีการปล่อยให้สิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดผ่านผิวของไส้กรองออกมาได้ สามารถสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้งานได้ถึงคุณภาพ ของน้ำที่ผ่านจากเครื่องกรองน้ำขนาดพกพา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล กล่าวทิ้งท้าย…

นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่นอกจากจะสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ ง่ายต่อการพกพาแล้ว ยังทำให้คนไทยในทุกพื้นที่มีโอกาสได้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรคกันในราคาที่ไม่แพงอีกด้วย…

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล ฐานุตตมวงศ์

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่