ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

นิสิตวิศวฯ โชว์ผลงานเยี่ยม คว้ารางวัลชนะเลิศ-รองชนะเลิศ นวัตกรรมการบิน TG Travel Green Innovation ครั้งที่ 1

ทีมนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)  โชว์ผลงานเยี่ยมคว้ารางวัลชนะเลิศ – รองชนะเลิศ รวม 4 รางวัล ในการประกวด “นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน” ครั้งที่ 1 (TG Travel Green Innovation)” จัดโดย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยทีมนิสิตผู้ได้รับรางวัล ได้เข้ารับรางวัลจากนายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ และ Ms.Marie-Louise Philippe, Regional Sales Director แอร์บัส ในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2557 ณ อาคาร 1 สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ศักดิ์ นิสิต

          นายจิรพันธุ์ จานแก้ว และนายภาณุวุฒิ พรตระกูลชั้นปีที่ 2 จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในประเภทแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมอากาศยาน จากผลงาน อี-พุชแบ็ก หรือ ePushback เล่าถึงผลงานที่นวัตกรรมอากาศยานในอุตสาหกรรมการบินที่นิสิตทั้งสองคนได้ร่วมกันคิดและออกแบบว่า “การปฏิบัติงานในการนำเครื่องบินเข้า-ออกจากหลุมจอด ภายในลานจอดอากาศยานปัจจุบัน ยังคงใช้คนและยานพาหนะที่เรียกว่า รถดันอากาศยานหรือพุชแบ็ก แทร็คเตอร์ (Pushback tractors) ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การจัดหาบุคลากรทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุงรักษารถดันอากาศยาน  เป็นต้น จากสาเหตุดังกล่าวจึงมีแนวคิดพัฒนาระบบ อี-พุชแบ็ก เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

อี-พุชแบ็ก เป็นอุปกรณ์จับยึดที่ล้อหน้าของเครื่องบิน มีระบบการทำงานคล้ายกับระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าในอาคารผู้โดยสาร โดยนำมาประยุกต์ใช้กับการเคลื่อนตัวของเครื่องบินเวลาเข้าออก และขณะนำเครื่องออกจากหลุมจอดไปยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยมีการสั่งงานและควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์บริหารการบิน (FMC) ร่วมกับ Ground Controller  ทดแทนการใช้รถดันอากาศยานแบบเดิมและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะ การเกิดอุบัติเหตุ และค่าใช้จ่าย โดยเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งระบบอื่นใดเพิ่มเติม และสามารถใช้งานระบบกับอากาศยานปีกตรึงที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เกือบทุกรุ่น

          หลักการทำงานของระบบ อี-พุชแบ็ก คือ เมื่อนักบินดันเครื่องถอยออกจากหลุมจอด ระบบอี-พุชแบ็ก จะทำการตรวจจับและเคลื่อนตัวเข้าหาตำแหน่งของล้อหน้า แล้วอุปกรณ์ในระบบจะแยกตัวออกเป็นสองส่วน เพื่อสวมเข้ากับล้อหัวทางด้านข้างทั้งสองด้าน และสลักอีกสองตัว ด้านหัวท้ายจะถูกกางออก เพื่อทำหน้าที่ยึดด้านหน้าและด้านหลังของตัวล้อ เมื่อสลักหัว-ท้าย ถูกกางออกแผ่นป้องกันทั้งสองด้าน ซ้าย-ขวา จะเคลื่อนตัวเข้าหาหัวล้อ เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง พร้อมรับการลากจูงอากาศยานให้เคลื่อนตัวไปตามทิศทางที่ต้องการ”

นอกจากจะลดค่าใช้จ่าย ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทำงานแล้ว ข้อดีของระบบ อี-พุชแบ็ก  คือ สามารถใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือกเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนระบบ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า รวมถึงไบโอดีเซล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาระบบได้โดยง่ายเนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน  สามารถผลิตหรือจัดหาวัสดุได้ภายในประเทศ และดำเนินการซ่อมแซมได้โดยไม่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สามารถใช้งานระบบได้ทุกสภาพอากาศ ทั้งกลางวันและกลางคืน และมีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน เนื่องจากควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และสามารถออกแบบโดยใช้ระบบเฟืองทดรอบเพื่อปรับกำลังให้เหมาะสมกับอากาศยานแต่ละประเภทได้อีกด้วย”

ผลงาน อี-พุชแบ็ก มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนัช สุขวิมลเสรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม นอกจากผลงานรางวัลชนะเลิศแล้ว นิสิตวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังคว้ารางวัลชนะเลิศ มาครองอีก 3 ทีม ประกอบด้วย

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมอากาศยาน

  • ผลงาน Sky Thermal Energy Conversion (Sky TEC)

เจ้าของผลงาน คือ นายภัทรพงศ์ ผลพฤกษา และนายสิรภพ ขัตติโยทัย (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) ปี 2 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปองวิทย์ ศิริโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมอากาศยาน

  • ผลงาน Hydrogen Fuel Cell vs Aviation

เจ้าของผลงาน คือ นายกีรติติ์ สดีเดช และนางสาวปารีณา วิทยไพสิฐสันต์ (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) ปี 3 โดยมี อาจารย์ ดร.วิศว์ ศรีพวาทกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก

  • ผลงาน Projected Seat Number และผลงาน Pulley System for Overhead Baggages

เจ้าของผลงาน คือ นายสุรัช คิศนานี และนายณัฐพงษ์ วรินทร์ (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) ปี 3 โดยมี อาจารย์ ดร.ชินภัทร ทิพโยภาส อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่