ENG KU NEWS

วันศุกร์ที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

อาจารย์วิศวฯ ไฟฟ้า ร่วม มจธ. พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน ใช้งานจริงในพื้นที่เกาะห้อง จ.กระบี่

ปัจจุบันกระแสไฟฟ้านับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตซึ่งนอกจากจะให้แสงสว่างและให้ความร้อนแล้วยังอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น ตู้เย็น เตารีด พัดลม ซึ่งในพื้นที่ห่างไกล หรือหมู่เกาะต่างๆ ที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงนั้น การผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะหมู่เกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว กระแสไฟฟ้ามีความจำเป็นสำหรับ อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลพื้นที

ด้วยเหตุนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ศรีผดุงธรรม อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จึงได้ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุสาห์ บุญบำรุง มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าแบบ ผสมผสานในโครงการการศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้า ด้วยพลัง หมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของ ประเทศ ณ ที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะห้อง จ.กระบี่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ กล่าวว่า “ในส่วนของการ ดำเนินโครงการในพื้นที่หมู่เกาะห้องนั้น ได้ร่วมสนับสนุนบุคลากร ข้อมูลทางด้านวิชาการ ตลอดจนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการติดตาม และการสื่อสารระหว่างระบบผลิตไฟฟ้าและระบบควบคุมการผลิต ไฟฟ้า ซึ่งในพื้นที่หมู่เกาะห้องสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผลิตกระแสไฟฟ้าแบบระบบผสมผสาน คือการนำระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ รวมเข้ากับการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟด้วยเครื่องยนต์ดีเซล

ในส่วนของระบบติดตามการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าจาก โซลาร์เซลล์นั้น ระบบติดตามจะเก็บข้อมูลทุกๆ 5 นาที และมีซิมการ์ด เพื่อส่งข้อมูลด้วยสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งจะแสดงขึ้นที่หน้าจอของ ผู้ดูแลระบบที่อาจจะทำงานอยู่บนฝั่ง เมื่อผู้ดูแลระบบเห็นความ ผิดปกติในการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า ในช่วงแรกก็จะแจ้งให้ เจ้าหน้าที่บนเกาะเข้าไปซ่อมแซมก่อนในเบื้องต้น

ระบบติดตามการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้านั้นช่วยในการแจ้ง ปัญหาล่าช้า ซึ่งจะส่งผลให้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ยังใช้ในการติดตามการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าว่า โซลาร์เซลล์มีกำลังการผลิตได้เท่าไร มีการชาร์จไฟฟ้าเข้าไปใน แบตเตอรี เท่าใดและใช้ไฟฟ้าไปเป็นปริมาณเท่าใดหรือตอนนี้ แบตเตอรี่ต่ำแล้ว ควรลดกำลังการใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันแบตเตอรีเสียหายจาก การใช้ไฟฟ้าจนหมด

ล่าสุดผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ในฐานะผู้ร่วมดำเนินงาน ได้ร่วมในพิธีเปิดโครงการการศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลัง หมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ของประเทศ ณ ที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะห้อง ต.เขาทอง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ โดยมี พ.ต.ท.ม.ล.กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้อำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะอาจารย์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ และพันธุ์พืช กว่า 100 คนเข้าร่วม โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมงาน และให้ข้อเสนอแนะในการสัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกาะห้อง Smart Island ด้วยพลังงานสีเขียวแก่ผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ศรีผดุงธรรม (ที่ 2 จากซ้าย) ร่วมในพิธีเปิดโครงการ

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่